6 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ ร.ง. 4 เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการโรงงานทุกคนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องดำเนินการขอนุญาตก่อน ด้วยหลังการปรับแก้ พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับแก้ไข ปี พ.ศ. 2562 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนทั้งเงื่อนไขและระยะเวลา

ในบทความนี้ เราได้สรุป 6 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง. 4 เพื่อให้คุณได้ทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับการขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องตากฎหมาย และสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นต่อไป ในอนาคต

1. โรงงาน คืออะไร

โรงงาน คือ สถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากในเชิงอุตสาหกรรม โรงงานสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ

2. ประเภทของโรงงาน

ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 แบ่งตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่มีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

โรงงานจำพวกที่ 1

โรงงานขนาดเล็กที่สามารถประกอบกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น โรงงานซ่อมรถยนต์ โรงงานผลิตเสื้อผ้า โรงงานทำขนม ซึ่งเป็นโรงงงานที่มีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า หรือมีแรงงานจำนวนไม่เกิน 50 คน

โรงงานจำพวกที่ 2

โรงงานขนาดกลางที่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้าก่อนประกอบกิจการ เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานสิ่งทอ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นโรงงงานที่มีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้า หรือมีแรงงานจำนวนไม่เกิน 75 คน

โรงงานจำพวกที่ 3

โรงงานขนาดใหญ่หรือโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนดำเนินการ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานน้ำตาล โรงงานเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นโรงงงานที่มีขนาดเครื่องจักรตั้งแต่ 75 แรงม้า หรือมีแรงงานคนตั้งแต่ 75 คน ขึ้นไป

3. ร.ง.4 คืออะไร

ร.ง. 4 หรือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนที่จะดำเนินการจัดตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานใด ๆ

4. ทำไมต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน

เหตุผลที่คุณต้องขอนุญาต ร.ง.4 ก่อนเริ่มดำเนินการจัดตั้งโรงงาน นั่นก็เพื่อรับรองว่าโรงงานนั้นได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม การขออนุญาตจัดตั้งโรงงานเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าโรงงานของคุณดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

5. ขั้นตอนการขออนุญาต ร.ง.4

เงื่อนไข

  1. ประเภทโรงงาน: โรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับใบอนุญาต ร.ง. 4 ก่อนดำเนินการ
  2. ทำเลที่ตั้ง: โรงงานต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กฎหมายกำหนด และไม่เป็นที่ต้องห้ามตามกฎหมายผังเมือง
  3. สิ่งแวดล้อม: โรงงานต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดของเสียอันตราย การควบคุมมลพิษทางอากาศ และการจัดการเสียง
  4. ความปลอดภัย: โรงงานต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน และมีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
  5. สุขอนามัย: โรงงานต้องมีสุขลักษณะที่ดี และมีมาตรการดูแลสุขภาพของคนงาน

เอกสาร

  • คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4)
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน, สัญญาเช่า)
  • แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงาน
  • แผนผังโรงงาน
  • รายละเอียดกระบวนการผลิต
  • รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) (ถ้ามี)
  • เอกสารอื่นๆ ตามที่กำหนด

ขั้นตอนการขออนุญาติ

  1. ยื่นคำขอ: ยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบ ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
  2. ตรวจสอบเอกสาร: เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร
  3. ตรวจสอบโรงงาน: เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโรงงาน เพื่อดูว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขหรือไม่
  4. ออกใบอนุญาต: หากโรงงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข จะได้รับใบอนุญาต ร.ง. 4

ระยะเวลาในการพิจารณา

ระยะเวลาในการพิจารณาขออนุญาต ร.ง.4 ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของโรงงาน รวมถึงความสมบูรณ์ของเอกสาร โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการ

ช่องทางการยื่นขออนุญาต

ผู้ประกอบการสามารถยื่นขออนุญาต ร.ง.4 ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  • ยื่นด้วยตนเอง: ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
  • ยื่นผ่านระบบออนไลน์: ผ่านระบบ e-Service ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

6.บทลงโทษ

การไม่ขออนุญาต ร.ง.4 หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน มีบทลงโทษแตกต่างกันไปตามประเภทของโรงงานและลักษณะของการฝ่าฝืน ดังนี้

โรงงานจำพวกที่ 2

  • ไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนดำเนินกิจการ: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • แจ้งต่อเจ้าหน้าที่แต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน: ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

โรงงานจำพวกที่ 3

  • จัดตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รู้อย่างนี้แล้ว ผู้ประกอบการทุกคนควรดำเนินการขออนุญาติก่อนดรงงานกันด้วยนะคะ เพราะหากไม่ทำอาจโดนบทลงโทษทางกฎหมายได้ โดยเฉพาะโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ถึงแม้โรงงานขนาดกลางจะไม่ต้องขอนุญาตก็ได้ แต่ก็ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนจัดตั้งโรงงานอยู่ดี ถึงแม้บทลงโทษจะเบากว่าโรงงานขนาดใหญ่ แต่หากทำตามและไม่โดนบทลงโทษก็คงดีกว่าใช่มั้ยคะ และหากไม่ทำตามอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของโรงงานด้วยก็ได้ค่ะ

ดังนั้น คุณควรศึกษาและทำความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและผฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายระบุไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง

PARK FACTORY ผู้ให้บริการการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ

ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY 

ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : property.user14@gmail.com
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8 

Scroll to Top