การเสียภาษีที่ดินต้องทำยังไง และมีที่ดินแบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษีกันบ้าง

ทุกคนรู้รึเปล่าคะว่า ที่ดินที่เราใช้ปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่อยู่อาศัยหรือก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ นั้นมีมูลค่าที่ต้องจ่าย คือภาษีที่ดิน จะมีการเรียกเก็บจากการคำนวณมูลค่าของที่ดินที่เรามีไว้ในครอบครอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของภาษีที่ดินอีกด้วย จะมีการเลี่ยงซึ่งการเรียกเก็บก็จะต่างพื้นที่กันออกไป และนอกจากนี้ยังมีที่ดินที่ไม่ต้องจ่ายภาษีที่ครอบครองด้วย ไปดูว่าใครจะต้องจ่ายภาษีที่ดินกันบ้าง 

ภาษีที่ดินคืออะไร

ภาษีที่ดิน คือ การเรียกเก็บภาษีตามกฎหมายจากการคำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เรามีไว้ในครอบครองนั่นเอง ซึ่งก็จะถูกเรียกเก็บจากทาง อบต. แต่สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องชำระที่สำนักงานเขตและส่วนของเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลว่าการเมืองพัทยา

ประเภทของภาษีที่ดิน 

ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีการปรับลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 15% ตามปีภาษี 2566 โดยมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4 ประเภทที่ได้รับการลดอัตราภาษีลง ดังนี้

  • ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  

ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ทำประมง โดยต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นหลักและไม่ใช้เพื่อประโยชน์อื่น เช่น ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.01%-0.1% สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่า 50-125 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 125-150 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 150-550 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 550-1,050 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,050 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
  • ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

ที่ดินที่ใช้สำหรับสร้างบ้าน อาคาร คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและต้องเป็นที่ดินตามกฏหมาย และห้ามใช้เขตป่าสงวน เขตทหาร เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย จะต้องเสียภาษีในอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% โดยแบ่งตามประเภทของเจ้าของที่ดิน ดังนี้ 

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-10 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่า 10-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
  • ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยถูกนำมาใช้ในลักษณะออฟฟิศ สำนักงาน โรงแรม หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร โดยอัตราภาษีตั้งแต่ 0.3-0.7% ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท
  • ที่ดินรกร้าง

ที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ปล่อยให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่า โดยไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ต้องเสียภาษีที่ดินเปล่าแทนะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าตั้งแต่ 0.3-0.7% เช่นกัน โดยคำนวณได้ ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท

การคำนวณภาษีที่ดิน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีประเภทใหม่ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเสี่ยงทางรายได้ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  • หาข้อมูลมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สามารถหาข้อมูลได้จากหนังสือรับรองโฉนดที่ดิน หรือจากประกาศกรมที่ดิน
  • ตรวจสอบอัตราภาษี: สามารถตรวจสอบอัตราภาษีได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือจากหน่วยงานที่ดินที่รับผิดชอบในพื้นที่
  • คำนวณภาษี: นำมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปคูณกับอัตราภาษีที่สอดคล้องกัน

ตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

กรณี 1: ที่ดินเปล่า มูลค่า 50 ล้านบาท

  • หาข้อมูลมูลค่าที่ดิน: มูลค่าที่ดิน 50 ล้านบาท
  • ตรวจสอบอัตราภาษี: 0.02%
  • คำนวณภาษี: 50 ล้านบาท x 0.02% = 10,000 บาท

กรณี 2: ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่า 100 ล้านบาท

  • หาข้อมูลมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: มูลค่า 100 ล้านบาท
  • ตรวจสอบอัตราภาษี: 0.02% และ 0.03%
  • คำนวณภาษี: (100 ล้านบาท x 0.02%) + (100 ล้านบาท x 0.03%) = 50,000 บาท

การใช้กฎหมายเรื่องของภาษีที่ดิน ได้มีการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติไม่นานมากนักแต่หากผู้ที่ถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องศึกษาเรื่องของภาษีเพื่อการชำระได้ในระยะเวลาที่ถูกต้องและคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายหรือถ้าหากได้รับการยกเว้นการเสียภาษีก็จะได้ไม่ต้องมีความกังวลเรื่องการจ่ายภาษี

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

PARK FACTORY ผู้ให้บริการการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ

ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY 

ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : property.user14@gmail.com

Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8 

Scroll to Top