พื้นที่แต่ละสีสามารถทำอะไรได้บ้าง

หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่นั้นมีสีกำหนดไว้ด้วย ซึ่งแต่ละสีมีความหมายและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ทางที่ดินแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมากที่เราควรรู้ไว้ โดยเฉพาะคนที่กำลังวางแผนซื้อที่ดิน เพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตัวเอง

ผังเมืองคืออะไร?

ในทุกประเทศจะมีกฎหมายผังเมืองเอาไว้ เพื่อแบ่งเป็นเขตท้องที่ต่างๆให้สามารถปกครองและดูแลได้ง่ายขึ้น ในประเทศไทยก็เช่นกันมีการกำหนดกฎหมายผังเมืองเอาไว้โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์ของที่ดิน, วางแผนโครงสร้างพื้นฐาน, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาการใช้ที่ดินที่ขัดแย้งกันอีกด้วย

ประเภทของผังสีมีกี่ประเภท?

ประเทศไทยมีการแบ่งพื้นที่ออกมาเป็นผังสีเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยแต่ละสีก็จะบ่งบอกถึงศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ นอกจากนี้การแบ่งพื้นที่เป็นผังสียังช่วยให้สิ่งปลูกสร้างไม่ปะปนกันอีกด้วย สำหรับกรุงเทพมหานครได้แบ่งผังสีออกเป็น 9 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
1. ผังสีเหลือง
2. ผังสีส้ม
3. ผังสีน้ำตาล
4. ผังสีน้ำตาลอ่อน
5. ผังสีแดง
6. ผังสีม่วง
7. ผังสีน้ำเงิน
8. ผังสีเขียว
9. ผังสีขาวและเส้นทแยงสีเขียว

พื้นที่แต่ละสีสามารถใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง?

1. ผังสีเหลือง (ย.1-ย.4)

ผังสีเหลืองแสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นน้อย ที่ดินสีนี้ตั้งอยู่ในแถบชานเมือง เหมาะสำหรับการสร้างบ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์, อาคารชุดเล็กและกลาง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างอาคารพาณิชยกรรม, สำนักงาน, โรงแรม และ ตลาดได้อีกด้วย

2. ผังสีส้ม (ย.5-ย.7)

ผังสีส้มแสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง จะพบที่ดินสีนี้ได้ในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน ผังสีนี้สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ แต่ถ้าเป็นอาคารชุดต้องมีเนื้อที่เกิน 10,000 ตารางเมตร อยู่ริมถนนไม่น้อยกว่า 30 เมตร หรืออยู่ในระยะ 500 เมตรจากรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และไม่สามารถสร้างสถานสงเคราะห์สำหรับเลี้ยงสัตว์ได้ เพราะเสียงของสัตว์จะรบกวนเขตชุมชน

3. ผังสีน้ำตาล (ย.8-ย.10)

ผังสีน้ำตาลแสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูง จะพบที่ดินสีนี้ได้ในบริเวณพื้นที่เมืองชั้นใน จึงทำให้ที่ดินสีนี้มีมูลค่าสูง รัฐบาลจึงอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ไม่เกิน 10% ของพื้นที่ เช่น การสร้างโรงงาน หรือสถานประกอบการ เพราะเหมาะกับการเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่า

4. ผังสีน้ำตาลอ่อน (ศ.1-ศ.2)

ผังสีน้ำตาลอ่อนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองชั้นใน บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นผังสีที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทางที่ดินด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของไทย ด้านพาณิชยกรรม การท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์ สถานที่ราชการ และสาธารณูปโภคที่สำคัญ จึงทำให้ผังสีนี้สร้างได้แต่โรงแรมเท่านั้น

5. ผังสีแดง (พ.1-พ.5)

ผังสีแดงแสดงถึงพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทางที่ดินเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า การบริการ และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังสามารถสร้างที่อยู่อาศัย และสถานที่ราชการได้ แต่จะให้ใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นไม่เกินร้อยละ 25% ของพื้นที่ทั้งหมด เช่น สร้างโรงงานอุตสาหกรรม, สุสาน, ปศุสัตว์, สถานที่กำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล เพราะอาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คนในชุมชนได้

6. ผังสีม่วง (อ.1-อ.2)

ผังสีม่วงแสดงถึงพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมผลิต และเขตนิคมอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับการสร้างโรงงานหรือโกดัง หรือใครจะสร้างบ้านก็ได้ แต่ไม่สามารถสร้างอาคารสูง หรืออาคารชุดขนาดใหญ่ได้ เว้นแต่อาคารจะเป็นส่วนหนึ่งของโรงงาน

7. ผังสีน้ำเงิน (ส.)

ผังสีน้ำเงินจะกระจายอยู่ทุกพื้นที่ แสดงถึงพื้นที่ของรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น สถานที่ราชการต่างๆ, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล, วัด, สถานที่กำจัดขยะ เป็นต้น ซึ่งผังสีน้ำเงินนี้ไม่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณประโยชน์โดยเด็ดขาด

8. ผังสีเขียว (ก.4-ก.5)

ผังสีเขียวแสดงถึงพื้นที่ในชนบทและเกษตรกรรม เหมาะสำหรับทำสวน ทำไร่ สามารถแบ่งที่ดินให้เป็นแปลงเล็กขนาด 100 ตารางวาตามกฎหมายการจัดสรร เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือสาธารณูปโภคได้ รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินจะใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ของพื้นที่ดินเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถสร้างโรงงานเชื้อเพลิง หรือโรงงานน้ำมัน เพราะอาจเกิดอันตรายต่อคนในพื้นที่และเกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมได้

9. ผังสีขาวและเส้นทแยงสีเขียว (ก.1-ก.3)

ผังสีขาวและเส้นทแยงสีเขียวแสดงถึงพื้นที่สำหรับการอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งผังสีนี้เป็นผังสีที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย จึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มและน้ำกร่อย รวมไปถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อที่ดิน หรือมีที่ดินแล้วแต่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ใดๆ เข้าใจในพื้นที่แต่ละสีมากขึ้นว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และได้วางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

PARK FACTORY ผู้ให้บริการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ

ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY

ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : [email protected]
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8


Scroll to Top