ในบรรดานักลงทุนหลายๆ คน น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า “ผังเมือง” หรืออาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง ผังเมืองเป็นเหมือนกันแผนผังต่างๆ ที่ใช้ในการบอกเขตที่กำหนดไว้ว่าพื้นที่ส่วนไหนสามารถใช้ประโยชน์ทำอะไรได้บ้าง ด้วยการแบ่งตามสีที่แตกต่างกันไป แต่ในฐานะนักลงทุนสิ่งที่ควรรู้ที่สุดคือ พื้นที่สีม่วง ที่หมายถึงพื้นที่เขตอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไป
พื้นที่สีม่วง สามารถทำอะไรได้บ้าง ?
เขตพื้นที่สีม่วงนั้นเป็นเขตอุตสาหกรรม แต่ก็สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างที่นอกเหนือจากโรงงานได้ เช่น ที่อยู่อาศัย (บ้าน หอพัก คอนโดขนาดเล็ก) หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นร้านค้าก็สามารถทำได้ แต่ไม่สามารถสร้างตึกสูงหรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ได้ และพื้นที่สีม่วงมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นรหัส
รหัสพื้นที่สีม่วงหมายถึงอะไร
พื้นที่สีม่วงจะใช้รหัสในการแบ่งประเภทของที่ดินภายในพื้นที่ มีอยู่ 3 รหัสคือ
- รหัส อ.1 กิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อย
- รหัส อ.2 กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต
- รหัส อ.3 พื้นที่คลังสินค้าสำหรับการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หมายเหตุ : รหัส อ.3 จะใช้ “สีเม็ดมะปราง” แทน “สีม่วง”
อุตสาหกรรมแบบไหนที่สามารถทำในพื้นทีสีม่วงได้บ้าง
กลุ่มของอุตสาหกรรมที่ทำภายในพื้นที่สีม่วงมีหลากหลายประเภท โดยส่วนใหญ่จะทำในลักษณะของโกดัง คลังสินค้า และโรงงาน และนี้คือกลุ่มตัวอย่างของอุตสาหกรรมที่เรานำมายกตัวอย่างให้ดูบางส่วน
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตผลเกษตรกรรม
- การต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช
- การเพาะเชื้อเห็ด กล้วยไม้หรือถั่วงอก
- การอัดปอหรือใบยาสูบ
- การเก็บรักษาหรือลําเลียงพืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืชในไซโลโกดังหรือคลังสินค้า
- การถนอมผลิตผลเกษตรกรรมโดยวิธีฉายรังสี
- การฟักไข่โดยใช้ตู้อบ
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์
- การฆ่าสัตว์
- การถนอมเนื้อสัตว์โดยวิธีอบ รมควัน ใส่เกลือ ดอง ตากแห้ง หรือทําให้เยือกแข็งโดยฉับพลันหรือเหือดแห้ง
- การทําผลิตภัณฑ์อาหารสําเร็จรูปจากเนื้อสัตว์มันสัตว์หนังสัตว์ได้ หรือสารที่สกัดจากไขสัตว์หรือกระดูกสัตว์
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ํานม
- การทํานมสดให้ไร้เชื้อหรือฆ่าเชื้อโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
- การทํานมเปรี้ยวหรือนมเพาะเชื้อ
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผัก พืช หรือผลไม้
- การทําอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืช หรือผลไม้และบรรจุใน
- ภาชนะที่ผนึกและอากาศเข้าไม่ได้
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับชา กาแฟ โกโก้ช็อกโกเลต หรือขนมหวาน
- การทําใบชาแห้งหรือใบชาผง
- การคั่ว บด หรือป่นกาแฟหรือการทํากาแฟผง
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหาร
- ทำผงฟู
- ทำแป้งเชื้อ
- ทำมันสตาร์ด
- ทำน้ำมันสกัด
โรงงานต้ม กลั่น หรือผสมสุรา
- การผลิตวิสกี้ บรั่นดี
- การผลิตสุราพิเศษ
- การผลิตสุราผสมไทย
นอกจากโรงงานที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีโรงงานสามารถใช้เครื่องจักร 20 – 50 แรงม้า ที่มีรูปแบบโรงงานอีกหลายประเภท
ดังนั้นการที่จะเลือกสร้างสิ่งปลูกสร้างแบบไหน ก็ควรจะศึกษาในเรื่องของผังเมืองก่อนว่าพื้นที่ไหนสามารถทำอะไรได้ เหมาะกับการทำอะไรมากที่สุด เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างที่เราต้องการ สำหรับการลงทุน ได้ผลลัพธิ์ที่ออกมาดีที่สุด และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในอนาคต