ในยุคที่โลกมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น การหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนกลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในทุกๆภาคส่วนของสังคม และหนึ่งในมาตรการที่มีบทบาทสำคัญก็คือ การพัฒนาโรงงานสีเขียว หรือ “Green Factory” ซึ่งเป็นโรงงานที่ออกแบบและดำเนินงานโดยมีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยที่ประเทศไทยก็ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เริ่มนำแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพื่อให้การผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผ่านโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ในปี 2554 และพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวภายในปี 2568 ที่จะถึงนี้
หลักการของโรงงานสีเขียวคืออะไร
โรงงานสีเขียว คือ โรงงานที่นำแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการดำเนินงาน การออกแบบ และการจัดการ โดยมีเป้าหมายหลักในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการใช้พลังงาน การจัดการของเสีย การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการลดการปล่อยมลพิษ โดยมีหลักการสำคัญที่ควรยึดถือและปฏิบัติตาม ดังนี้ครับ
1.การลดการใช้พลังงาน
การใช้พลังงานอย่างมีคุ้มค่าและไม่ฟุ้มเฟือย ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ในการดำเนินโรงงานสีเขียว การนำพลังงานทดแทนมาปรับใช้ถือเป็นทางออกที่หลายคนเลือกทำเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือพลังงานน้ำ เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล นอกจากนี้ยังควรมีการออกแบบเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อรองรับในการใช้พลังงานสูงสุด
2. การจัดการของเสีย
โรงงานสีเขียวควรมีระบบการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย โดยการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล และการกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งหลักการสำคัญ โรงงานควรมีการใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การลดการใช้น้ำและการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
4. การลดการปล่อยมลพิษ
การลดการปล่อยสารพิษและมลพิษเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ โรงงานควรมีการติดตั้งระบบกรองอากาศ และบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันการปล่อยมลพิษสู่อากาศและน้ำ
อุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทย
ประเทศไทยที่เข้าสู่ยุคของการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักการที่ได้รับรองจากปฏิญญาโจฮันเนสเบิร์ก ในปี 2545 และปฏิญญามะนิลาว่า ด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว ในปี 2552 โดยดำเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียวและผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ
ระดับของอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทย
โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment)
- ข้อ 1 ต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
- ข้อ 2 ต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ
ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity)
- ข้อ 1 กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ
- ข้อ 2 จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน การปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาแล้วเสร็จ
- ข้อ 3 นำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดผล
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System)
- ข้อ 1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
- ข้อ 2 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อม
- ข้อ 3 นำไปปฏิบัติ
- ข้อ 4 ติดตาม ประเมินผล
- ข้อ 5 ทบทวน รักษาระบบ
ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว Green Culture
- ข้อ 1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระดับที่ 3 ทุกข้อ
- ข้อ 2 สร้างวัฒนธรรมองค์กรตามแนวทาง SR (ISO 26000)
- ข้อ 3 รายงานเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network)
- ข้อ 1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและมีวัฒนธรรมสีเขียวตามระดับที่ 4 ทุกข้อ
- ข้อ 2 ส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับ supply chain ชุมชน และบริโภค
- ข้อ 3 รายงานความสำเร็จเผยแพร่ต่อสาธารณะ
การพัฒนาโรงงานสีเขียวเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรให้ความสำคัญและพิจารณานำมาใช้ ไม่เพียงเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การลดต้นทุน การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน หรือเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังเป็นการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน สำหรับลูกหลานของเราและคนรุ่นต่อๆไปด้วย เพราะแบบนี้เราถึงควรสนับสนุนและจับตามองเทรนด์รักษ์โลกแบบโครงการนี้ให้ดีครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ความแตกต่างระหว่าง การลงทุนระยะสั้น กับระยะยาว แบบไหนที่ใช่สำหรับเรา
- การเสียภาษีที่ดินต้องทำยังไง และมีที่ดินแบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษีกันบ้าง
- เลือกลงทุนธุรกิจอสังหาฯ ควรเริ่มต้นยังไงดี? ให้คุ้มค่ามากที่สุด
PARK FACTORY ผู้ให้บริการการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ
ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY
ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : property.user14@gmail.com
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8